สอนลูกให้รู้เท่าทันการใช้อินเทอร์เน็ต

คุณหมอ เจ้าของ Facebook Page เข็นเด็กขึ้นภูเขา ได้เขียนอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า เด็กๆ อาจจะมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีเก่งกว่าผู้ใหญ่ แต่ทักษะชีวิตประสบการณ์ต่างๆ ก็ยังน้อยอยู่ ทำให้บ่อยครั้งที่จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นพบคนไข้ที่มาด้วยผลกระทบจากการเล่นอินเทอร์เน็ตโดยความไม่รู้เท่าทัน เช่น ติดอินเทอร์เน็ต ติด Shopping ออนไลน์ ติดพนันออนไลน์ เกิดวิตกกังวล เครียด ซึมเศร้า จากการใช้งานอินเทอร์เน็ตผิดวิธี หรือถูกแกล้งในอินเทอร์เน็ต ซึ่งพบคนไข้เหล่านี้บ่อยขึ้นเรื่อย สิ่งที่พ่อแม่ควรสอนให้เด็กเข้าใจในการเล่นอินเทอร์เน็ต 1.สอนลูกให้ควบคุมเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างเหมาะสม มีงานวิจัยมากมายที่บอกว่าการใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตนานๆ ไม่ว่าจะเป็น เกม โซเชียล ทำให้มีผลเสียทางสุขภาพจิต ตรงนี้ต้องมาจากพ่อแม่มีการเลี้ยงดูที่ใกล้ชิดและไม่ลืมปลูกฝังระเบียบวินัยตั้งแต่เด็ก ไม่ใช่ปล่อยเล่นตามสบาย หรือไม่มีเวลาดูแลลูก 2.สอนลูกให้มีความเห็นอกเห็นใจคนอื่นในการเล่นโซเชียล โพสต์แบบนี้คนอื่นจะมีผลกระทบอะไรบ้าง จะรู้สึกเสียใจ ไม่ให้เกียรติ ให้คิดถึงใจเขาใจเรา 3.สอนลูกให้ระวังการแชร์ข้อมูลส่วนตัวในโซเชียลมีเดีย เช่น เด็กบางคนถ่ายบัตรประชาชนตัวเองขึ้นเฟซ หรือเช็คอินแบบสาธารณะว่าอยู่ที่ไหน บอกที่อยู่ เบอร์โทร วันเดือนปีเกิดในโซเชียลมีเดีย ตรงนี้เป็นข้อมูลที่คนไม่ประสงค์ดีเอาไปหาประโยชน์ได้ 4.สอนลูกว่าอย่าแชร์หรือโพสต์อะไรตอนโกรธหรือมีอารมณ์ ทุกอย่างอาจถูกแคปหน้าจอไปเป็นประวัติของเรา ที่เขาเรียกว่า Digital footprint และสิ่งที่เราแชร์มีความผิดตามกฏหมายได้ ควรสอนลูกเกี่ยวกับพรบ.คอมพิวเตอร์คร่าวๆด้วย 5.สอนลูกว่าอย่าบอกพาสเวิร์ดตัวเองกับคนอื่น แม้ว่าจะเป็นเพื่อนสนิท […]

เมื่อเราเกิดความรู้สึกอับอาย (shame)

ในวัยเจริญเติบโต เกิดจากช่วงเด็กเล็ก (2-3 ขวบ) ที่อยู่ในวัยที่เริ่มแสดงความสามารถและต้องการการยอมรับ สนับสนุน และ การเห็นคุณค่าจากคนสำคัญ ครอบครัว และ สังคม แต่กลับไม่ได้รับความรู้สึกดีๆ เหล่านี้ แต่ไปได้ การถูกด่าว่า ตำหนิ ติเตียน ล้อเลียน ทำให้อับอาย หรือมีท่าทีไม่ยอมรับ ท่าทีดูถูก เหยียดหยาม หรือ ถูกบังคับ ควบคุม ข่มขู่ ถูกทำร้าย (child abuse) หรือ การถูกทอดทิ้ง การถูกหมางเมิน จนเด็กไม่รู้สึกถึงคุณค่าของสิ่่งที่ตนเองทำ สิ่งที่ตนเองมี สิ่งที่ตนเองเป็น จนเกิดความรู้สึกต่ำต้อย ด้อยค่า ไม่มั่นใจในตนเอง สงสัยในความสามารถ สงสัยในคุณค่าตนเอง (doubt) และรู้สึกอับอาย (shame) เหมือนตนเองมีรอยตำหนิ ที่น่าอับอายอยู่ในตัว (เป็นแผลที่มองไม่เห็นด้วยตา แต่รู้สึกได้ด้วยใจ) ความรู้สึกอับอายและความสงสัยในตนเอง เป็นความรู้สึกที่ฝังลึก เป็นบาดแผลที่กรีดลึกมากในใจ เมื่อเติบโตขึ้น มีเหตุการณ์ที่สะกิดว่าเขาไม่มีความสามารถ ไม่เป็นที่ยอมรับ หรือเขาไม่มีค่า หรือ […]

งานวิจัยชี้ผลกระทบจากเทคโนโลยีสู่การเลี้ยงลูก

หลังกรมสุขภาพจิตได้สำรวจเด็กในปี 2559 พบว่า เด็กไทยป่วยเป็นไฮเปอร์เทียมกว่า 4 แสนคน หรือประมาณ 2-3 คนต่อห้องเรียนที่มีเด็ก 40-50 คน และมักพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง ซึ่งแพทย์ได้นิยาม ‘ไฮเปอร์เทียม’ ไว้ว่า มีอาการคล้ายคนเป็นโรคไฮเปอร์ แต่ยังไม่ถึงขั้นป่วย เป็นเพียงอาการที่แสดงออกเหมือนโรคสมาธิสั้น ซึ่งเกิดจากการที่พ่อแม่ปล่อยให้เด็กจดจ่อกับสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตเพื่อไม่ให้เด็กซน แต่ถ้าหากปล่อยไว้นาน ‘ไฮเปอร์เทียม’ สามารถพัฒนาความรุนแรงได้ ทางที่ดีควรแก้ไขตั้งแต่เนิ่นๆ 5 พฤติกรรมเสี่ยงว่าลูกของคุณกำลังเข้าข่าย 1. เด็กแสดงอาการไม่พอใจเมื่อถูกพ่อแม่ห้ามไม่ให้เล่น หรือถูกเปลี่ยนที่เก็บโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตจนพวกเขาหาไม่เจอ 2. แอบเล่นโทรศัพท์มือถือในสถานที่แปลกๆ เพื่อไม่ให้พ่อแม่เห็น หรือแอบเล่นใต้ผ้าห่มหลังจากที่พ่อแม่ปิดไฟเข้านอน 3. ไม่สนใจสิ่งรอบตัว เรียกแล้วไม่ขาน บางครั้งเปิดสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตทิ้งไว้ระหว่างทำงานอื่น 4. แสดงความก้าวร้าว อารมณ์เสีย หงุดหงิด ไม่เอาใคร แต่เมื่อได้เล่นโทรศัพท์มือถือแล้วอาการจะหายไปทันที 5. ถามถึงโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตเป็นอย่างแรกที่ตื่นนอน ก่อนนอน หรือหลังกลับจากโรงเรียน ทางแก้ของปัญหาเด็กติดจอ มีการส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ เล่น เลอะนอกบ้าน นาน 60 นาทีต่อวัน เพื่อพัฒนาการที่ดีของเด็กรอบด้าน ไม่ว่าจะความแข็งแรงทางกาย […]

งานวิจัยเผย “ความฉลาดของลูก” ได้มาจากแม่มากกว่าพ่อ

ผลวิจัยล่าสุดพบว่า ความฉลาดของลูกได้รับมาจากยีนแม่มากกว่าพ่อ โดยยีนแม่พบมากในสมองส่วนที่ควบคุมการใช้ความคิดและเหตุผล แต่ทั้งนี้ 40-60% ก็ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อมรอบตัว นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ในสกอตแลนด์ ได้ทำการทดลองโดยใช้หนูดัดแปลงพันธุกรรม พบว่า หนูตัวที่ได้รับยีนแม่จะมีหัวและสมองที่ใหญ่แต่ตัวเล็ก ตรงกันข้ามกับหนูที่ได้ยีนพ่อ ที่มีสมองเล็กแต่ตัวใหญ่ และยังพบว่า ความฉลาดนั้นอยู่ในโครโมโซม X ที่ผู้หญิงมีถึงสองตัว (โครโมโซม XX) ขณะที่ผู้ชายมีโครโมโซม X เพียงตัวเดียว (XY) และเชื่อว่ายีนที่กระตุ้นการรับรู้ความเข้าใจที่มาจากพ่อ ดูเหมือนว่าเมื่อเติบโตมันจะหยุดทำงานไปโดยอัตโนมัติ นักวิจัยระบุว่ายีนพ่อและยีนแม่มีความแตกต่างกันในหลายเรื่อง ทั้งด้านสติปัญญา นิสัย พฤติกรรมการกิน ความสามารถการจดจำ โดยยีนแม่สะสมอยู่มากบริเวณเปลือกสมอง (Cerebral Cortex) ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมการใช้ความคิด การมีเหตุผล ภาษาและการวางแผน ขณะที่ยีนพ่อสะสมอยู่มากบริเวณระบบลิมบิค (Limbic) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานในส่วนของเพศ การกิน และอารมณ์ นอกจากนี้ยังได้ทำแบบสำรวจความฉลาด โดยสอบถามไปยังคนวัยหนุ่มสาวจำนวน 12,686 คน อายุระหว่าง 14-22 ปี ทุกช่วงอายุดังกล่าว และแม้ว่าจะมีหลายปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณาเกี่ยวกับความฉลาด ทั้งเชื้อชาติหรือสถานะทางสังคมเศรษฐกิจ นักวิจัยก็ยังพบว่า ปัจจัยสำคัญที่กำหนดความฉลาดนั้นก็คือ ไอคิวที่ได้มาจากแม่ อย่างไรก็ตาม ยีนจากพ่อหรือแม่ไม่ได้เป็นตัวกำหนดความฉลาดเพียงอย่างเดียว […]

อิทธิพลครอบครัว ที่ส่งผลต่อตัวเด็กโดยตรง

ในวัยเด็กเป็นวัยที่กำลังเติบโตและมีพัฒนาการในด้านต่างๆ ทั้งทางด้านร่างกายและนิสัยใจคอของเด็ก โดยพื้นฐานจิตใจเด็กเป็นเรื่องที่สำคัญ ส่งผลต่อพฤติกรรมการแสดงออกและการดำเนินชีวิตขั้นพื้นฐาน ซึ่งอิทธิพลครอบครัวก็เป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อตัวเด็กโดยตรง ครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อตัวเด็กอย่างมาก ดังนั้นหากต้องการให้เด็กมีลักษณะนิสัยเป็นแบบไหน ต้องเริ่มต้นที่ครอบครัวก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อหล่อหลอมเด็กให้มีพื้นฐานจิตใจและนิสัยที่ดี สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ไม่ก่อความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น จุดเริ่มต้นของการสร้างพื้นฐานนิสัยที่อ่อนโยนมีเมตตากรุณาต่อผู้อื่นในตัวเด็ก คือครอบครัวต้องให้ความรักความเมตตากับเด็กก่อน ให้ความเห็นอกเห็นใจต่อตัวเด็กจากพ่อแม่ของเด็กเอง เพื่อให้เด็กซึมซับกับการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รวมถึงการกลัวว่าผู้อื่นจะได้รับความทรมาน หากเด็กได้รับจากพ่อแม่ก็จะรู้จักมอบสิ่งนั้นให้กับผู้อื่นด้วย ตรงกันข้ามหากเด็กไม่เคยได้รับการเห็นอกเห็นใจ ไม่เคยได้รับความเมตตา ก็จะไม่รู้จักการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นไปด้วย ทำให้เด็กมีจิตใจแข็งกระด้าง ไม่รู้สึกสงสาร ไม่กลัวว่าผู้อื่นจะทรมาน และฝังอยู่ในพื้นฐานจิตใจเด็กส่งผลไปถึงตอนโตเป็นผู้ใหญ่ ที่อาจทำร้ายผู้อื่นได้โดยไม่รู้สึกผิด อีกหนึ่งส่วนที่สำคัญต่อตัวเด็กก็คือเรื่องของค่านิยมที่ตัวเด็กจะได้รับ เริ่มต้นจะได้รับจากครอบครัวก่อนและต่อมาจะได้รับจากสังคมโรงเรียน หากค่านิยมในครอบครัวมีเรื่องต้องห้ามที่จะไม่ทำโดยเด็ดขาด จัดเป็นเรื่องที่ผิดและร้ายแรง เด็กจะจดจำในส่วนนั้นและหลีกเลี่ยงการกระทำนั้นไปโดยปริยาย ดังนั้นพ่อแม่ควรสร้างค่านิยมที่ดีในครอบครัวขึ้นมา ต่อมาในเรื่องของการแก้ปัญหาของคนในครอบครัวที่ส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ซึมซับ และเลียนแบบในที่สุด หากพ่อแม่แก้ไขปัญหาด้วยวิธีไหน เด็กจะจดจำวิธีนั้นไว้ เช่น เมื่อพ่อแม่ทะเลาะกันหากแก้ปัญหาด้วยการใช้ความรุนแรง เด็กจะซึมซับและมองเป็นเรื่องธรรมดา หากเด็กมีปัญหาก็จะแก้ปัญหาด้วยวิธีเดียวกัน นั่นก็คือตัดสินด้วยกำลังที่ไร้ซึ่งเหตุและผล ดังนั้นพ่อแม่ควรมีวิธีการแก้ปัญหาที่ดีและเหมาะสมเพื่อรองรับเมื่อเกิดปัญหาในแต่ละครั้ง ช่วงวัยที่เด็กจดจำและซึมซับสิ่งต่างๆ ได้ดีที่สุด ในทางทฤษฎีทางจิตเวชเชื่อว่ามโนธรรมหรือคุณธรรมต่างๆ จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กมีอายุ 3 ขวบขึ้นไป หรือในช่วงวัยอนุบาล (3-5 ขวบ) จะจดจำเรื่องราวต่างๆ ได้มากและเริ่มซึมซับกับเรื่องราวเหล่านั้น เพราะฉะนั้นต้องระวังเรื่องของพฤติกรรมความรุนแรงหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอื่นๆ ให้มากที่สุด […]

6 วิธีฝึกระเบียบวินัยให้กับลูกที่ดื้อ!

การเลี้ยงดูเด็กที่เป็นโรคดื้อถือเป็นความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและการมีระเบียบวินัยที่สม่ำเสมอถือเป็นกุญแจสำคัญในการจัดการกับอาการของเด็ก โดยมีวิธีการ คือ ให้ความสนใจในแง่บวก เด็กที่เป็นโรคดื้อมักมีปัญหาอยู่ภายในใจ จึงทำให้เด็กกลุ่มนี้มีปฏิสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับผู้ใหญ่ พวกเขาเป็นกลุ่มที่ได้รับคำสั่งและผลกระทบที่ตามมามากกว่าเด็กคนอื่นๆ การให้ความสนใจในแง่บวกต่อลูกของคุณในทุกๆ วันจะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์และลดปัญหาทางพฤติกรรมได้ ควรใช้เวลาประมาณ 15 นาทีต่อวัน ในการพูดคุย เล่น หรือทำกิจกรรมร่วมกัน ควรใช้เวลาที่มีค่าเหล่านี้ร่วมกันในทุกวัน แม้จะเป็นวันที่พวกเขาดื้อมากกว่าปกติก็ตาม ในระยะยาวการให้ความสนใจในแง่บวกนี้จะช่วยลดปัญหาทางพฤติกรรมได้ ตั้งกฎให้ชัดเจน เด็กที่เป็นโรคดื้อชอบที่จะต่อสู้กับกฎและความยุติธรรมต่างๆ พวกเขามักพยายามหาช่องโหว่และพยายามหลีกหนีกฎเกณฑ์เหล่านี้ทุกครั้งที่ทำให้ การตั้งกฎที่ชัดเจนภายในบ้านถือเป็นจุดเริ่มต้นในการลดการโต้เถียง คุณควรติดกฎเหล่านี้ไว้ที่ตู้เย็นหรือบริเวณที่สังเกตได้ชัดเจนภายในบ้าน และเมื่อลูกของคุณเริ่มบอกว่าเขาไม่อยากทำการบ้านตอนนี้ คุณสามารถชี้ไปที่กฎและอธิบายว่า เวลาในการเริ่มทำการบ้านคือ 16.00 น. และควรทำให้กฎเหล่านี้ง่ายและไม่ยาวจนเกินไป แต่ควรมีกฎที่เกี่ยวข้องกับการบ้าน งานบ้าน เวลานอน และความเคารพต่างๆ รวมถึงปัญหาพฤติกรรมที่คุณต้องการจะแก้ไข วางแผนพฤติกรรม การวางแผนพฤติกรรมจะทำให้คุณสามารถเน้นไปที่พฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้ โดยควรเลือกพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหามากที่สุดเป็นอันดับแรก ความก้าวร้าว การนินทา ไม่ทำการบ้าน หรือก่อกวนในห้องเรียนอาจเป็นพฤติกรรมลำดับต้นๆ ที่คุณต้องการแก้ไข ควรระบุบทลงโทษที่ชัดเจนหากลูกของคุณทำผิดกฎ นอกจากนั้นควรพูดคุยถึงผลดีที่จะได้จากการทำตามกฎ การให้รางวัล โดยเฉพาะในรูปแบบของเงินปลอม เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากเด็กที่เป็นโรคนี้ หนักแน่นกับบทลงโทษ เด็กที่เป็นโรคนี้ต้องการความสม่ำเสมอของบทลงโทษจากการกระทำที่ไม่ถูกต้อง หากคุณมีการอนุโลมจะทำให้พวกเขาไม่จำ เนื่องจากพวกเขาจะคิดว่าถึงแม้ว่าจะมีโอกาสเพียง 1 ใน 100 […]

เลี้ยงลูกอย่างไร ? ให้มีพัฒนาการดี แข็งแรง แจ่มใส และปลอดภัย ใน “คอนโด”

จัดพื้นที่ที่ปลอดภัยให้เด็กได้เล่นกลางแจ้งในเวลาเช้า เช่น เล่นเครื่องเล่นสนาม เล่นกับอุปกรณ์กีฬาเพื่อให้เด็กได้วิ่งกระโดด บริหารร่างกาย ได้ปีนป่ายหรือเคลื่อนไหวต่างๆ ที่เหมาะกับกำลังของเด็ก จะช่วยการเรียนรู้และพัฒนาด้านร่างกาย พฤติกรรม อารมณ์ สังคมและสติปัญญาไปพร้อมๆกัน ฝึกลูกให้ช่วยเหลือตนเองตามวัย เช่น แต่งตัว อาบน้ำ เก็บที่นอน รับประทานอาหาร ฝึกให้ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้านง่ายๆ เช่น ให้อาหารสัตว์เลี้ยง ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ให้ลูกผ่านการปั้นขีดเขียนและระบายสี  ทำให้ลูกเกิดความรู้สึกสนุกสนานผ่อนคลาย เพลิดเพลิน โดยไม่รบกวนผู้ใหญ่ ควรฝึกลูกให้รู้จักสภาพชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่ พ่อแม่ควรนำเด็กไปในสถานที่สาธารณะต่างๆ ด้วย เช่น ตลาด ไปรษณีย์ ร้านค้า โรงพยาบาล เป็นต้น เพื่อเป็นการเตรียมเด็กไปสู่สังคมนอกบ้าน และเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นที่อยู่รอบตัว ควรตรวจสอบของเล่นรวมถึงอุปกรณ์ต่างๆในบ้านให้แข็งแรง ปลอดภัยต่อการเล่นหรือปีนป่าย ประการสำคัญพ่อแม่หรือผู้ปกครองต้องคอยดูแลใกล้ชิดเวลาเด็กเล่น เพื่อให้เด็กเล่นได้อย่างปลอดภัย เด็กจะมีสุขภาพที่แข็งแรง เติบโตสมวัย มีอารมณ์เบิกบานแจ่มใส จะทำให้ลูกเกิดการพัฒนาอย่างเต็มที่และดีที่สุดในทุกด้าน พร้อมจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไป   ที่มา : http://rajanukul.go.th/new/index.php

ลูกอายุเท่าไหร่ให้เล่นมือถือ-แท็บเล็ตได้

พ่อแม่คงสงสัยใช่ไหมว่าถ้าอยากให้ลูกได้เรียนรู้นิทาน ทำนองเพลงสนุกๆ หรือการฝึกทักษะต่างๆ ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ หรือทางแท็บเล็ต ควรจะให้ลองได้ลองใช้เมื่ออายุเท่าไหร่ดี ซึ่งงานวิจัยของผู้เชี่ยวชาญทางด้านเด็กของสหรัฐอเมริกา ได้ชี้ให้เห็นว่า ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มเล่นสมาร์ทโฟนคือ เด็กต้องมีอายุ 2 ปี ขึ้นไป ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ 1. บั่นทอนศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก ช่วงทารกจนถึง 2 ขวบ สมองของเด็กกำลังเติบโตเป็น 3 เท่า โดยมีสิ่งแวดล้อมจะเป็นตัวกระตุ้น หากลูกน้อยอยู่กับเทคโนโลยีอย่างแท็บเล็ต สมาร์ทโฟน โน๊ตบุ๊ต หรือแม้แต่หน้าจอโทรทัศน์มากเกินไป จะทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ลดลง แถมยังมีทำให้เป็นโรคสมาธิสั้น เอาแต่ใจตัวเองมากขึ้น เพราะควบคุมตัวเองได้น้อยลงนั่นเอง 2. เด็กเคลื่อนที่น้อยลง เมื่อเด็กอยู่กับหน้าจอมากๆ ก็จะทำให้เด็กเคลื่อนที่น้อยลง เพราะมัวแต่จดจ่ออยู่กับการใช้เทคโนโลยี ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อการพัฒนาอวัยวะต่างๆของร่างกายเด็ก ผลวิจัยชิ้นหนึ่งเผยว่า 1 ใน 3 ของเด็กที่ถึงวัยเข้าเรียนมีพัฒนาการทางร่างกายล่าช้ากว่า มีผลต่อการเรียนรู้ การอ่านออกเขียนได้ เนื่องจากสมาร์ทโฟนมีส่วนปิดกั้นกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก 3. ทำให้ตาเด็กเกิดอาการเมื่อยล้า เมื่อเด็กอยู่กับเทคโนโลยีมากเกินไป ส่งผลให้เด็กใช้สายตาเพ่งดูจอสมาร์ทโฟนต่อเนื่อง ซึ่งอาจทำให้เด็กเกิดอาการตาล้าหรืออักเสบภายในหลังได้ 4. พัฒนาการด้านอื่นๆ ช้าลง เด็กที่ติดสมาร์ทโฟนไม่ได้ใช้เวลาที่มีพัฒนาทักษะอื่นๆเท่าที่ควร เช่น […]

4 วิธีเพิ่มความคิดที่เป็นบวก สร้างวิธีคิด ช่วยลูกให้เห็นคุณค่าของตนเอง

การรับรู้ถึงคุณค่าของตัวเองนั้นได้มาจากพัฒนาการ 2 ส่วนใหญ่ๆ ทางหนึ่งมาจากคำชมเชย การกล่าวชมเชยเมื่อลูกมีความพยายามที่จะตั้งใจทำสิ่งนั้นจนสำเร็จ กับอีกทางคือการประเมินตัวเองว่าเป็นคนอย่างไร เด็กได้รับการฝึกให้ช่วยเหลือตนเองได้ ถ้าผลลัพธ์ต่อตัวเองออกมาทางบวก ลูกก็จะมีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเอง มีความเคารพและมองเห็นคุณค่าของตัวเอง เกิดความภาคภูมิใจและมั่นใจ แต่ถ้าความรู้สึกเป็นไปในทางลบ ก็จะทำให้รู้สึกได้ว่าตัวเองจะไม่เป็นที่รักของพ่อแม่ ไม่เก่ง ไม่มีคุณค่า แย่มากในสายตาคนอื่น ฯลฯ ดังนั้นการสร้างให้ลูกมี self esteem หรือมองเห็นคุณค่าในตัวเองตั้งแต่ในตอนเล็ก ๆ นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้เลย การสร้างตัวตนของเด็กจะเกิดขึ้นตั้งแรกเกิดจนกระทั่งอายุ 3 ขวบ พอหลัง 3 ขวบลูกจะเริ่มสร้างตัวตนที่ชัดเจนพอสมควร และจะพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งการได้มองเห็นหรือมองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง” พ่อแม่จึงมีผลกับ self esteem ของลูกเป็นอย่างยิ่ง สิ่งสำคัญ คือ พ่อแม่ต้องตระหนักถึง “ตัวตน” ของตัวเองด้วยว่า พ่อแม่คือคนที่ใกล้ชิดลูกมากและเป็นคนที่ลูกรักมากที่สุด สิ่งที่ลูกพยายามแสดงให้เห็นก็เพื่อที่จะได้รับการยอมรับจากพ่อแม่ ดังนั้นการเลี้ยงดูของพ่อแม่ในช่วง 3-4 ขวบปีแรกจึงมีอิทธิพลต่อการรับรู้ถึงความมีคุณค่าในตนเองของลูก ประการต่อมาคือ ทัศนคติของพ่อแม่ที่มีต่อตัวลูก พ่อแม่ต้องมีความเชื่อว่าลูกสามารถทำได้ เป็นเด็กดีและน่ารัก ซึ่งจะทำให้เด็กยอมรับในตัวตนที่พ่อแม่สร้างความมั่นใจให้นั่นเอง 4 วิธีเพิ่มความคิดที่เป็นบวกช่วยลูกให้เห็นคุณค่าของตนเอง ไม่ใช้คำพูดเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น เด็กทุกคนนั้นมีความแตกต่างกันทั้งพรสวรรค์ […]