พัฒนาการทางภาษาและการพูดตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 7 ปี
หลายท่านอาจมีข้อสงสัยว่าเด็กๆเข้าใจภาษาและพูดสื่อสารได้ตอนไหน มาดูพัฒนาการทางภาษาของเด็กแต่ละวัยกันค่ะ พัฒนาการทางภาษาถูกแบ่งออกเป็น 2 ด้าน 1. ความเข้าใจภาษา คือ การที่เด็กเข้าใจในสิ่งที่คนอื่นพูดสื่อสาร ทั้งในแง่ของการเข้าใจคำศัพท์ การเข้าใจคำสั่ง คำถาม ตลอดจนเข้าใจประโยค เรื่องเล่ายาวๆ หรือการสนทนาที่ซับซ้อนได้ 2. การสื่อสาร / การพูด คือ การที่เด็กสื่อสารโดยใช้ทั้งสีหน้า ท่าทางภาษากาย รวมทั้งการใช้คำพูดในการสื่อสารกับคู่สนทนาหรือสื่อสารกับผู้อื่นได้ ตลอดจนสามารถสื่อสารโดยใช้ประโยคยาวที่มีความซับซ้อน หรือใช้ภาษาในการบรรยายอธิบาย และเล่าเรื่องได้ ที่มา : คลินิกฝึกพูด รามาธิบดี
กลวิธีปราบเด็กแสบ
กลวิธีปราบเด็กแสบ ใครๆ ก็คงอยากได้ลูกที่ว่าง่าย น่ารัก น่าเอ็นดู กันทุกคน แต่เหตุไฉนลูกของเราจึงไม่ได้ดั่งใจ ไม่ดื้อก็ซน ไม่ซนก็ก้าวร้าว อ่อนอกอ่อนใจจริงไม่รู้จะทำอย่างไร เห็นทีต้องปล่อยให้ครูเขาจัดการเสียแล้ว แต่เรื่องราวคงไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะที่สุดคุณครูก็จะย้ำทุกครั้งไม่ว่าทางบ้านต้องช่วยปรับพฤติกรรมด้วย ไม่เช่นนั้นก็ไม่มีทางสำเร็จ เพราะอย่างไรเสีย เราคงหลีกเลี่ยงความเป็นจริงไม่ได้ว่า พ่อแม่นั่นแหละเป็นผู้ที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อการปรับพฤติกรรมของลูก “เมื่อใดที่คุณเปลี่ยน ลูกจะเปลี่ยนตาม” วันนี้แอดมินนำกลวิธีปราบเด็กแสบ เด็กดื้อ เด็กซน เด็กก้าวร้าว มาให้อ่านกันค่ะ
6 ข้อดีเมื่อคุณพ่อช่วยเลี้ยงลูก
เมื่อพูดถึงการเลี้ยงลูกใคร ๆ ก็นึกถึงว่าต้องเป็นหน้าที่ของคนเป็นแม่เสมอ แต่วันนี้เรามีข้อดีของคุณพ่อในการช่วยดูแลเจ้าตัวน้อยมาฝากกัน เชื่อไหมล่ะคะว่า คุณต้องประหลาดใจแน่ ๆ ว่าในมุมการเลี้ยงลูกของคุณพ่อก็มีข้อดีมากมายแฝงอยู่อย่างน่าเหลือเชื่อเลยทีเดียวค่ะ ลองอ่านกันดูนะคะ ^_^
วิธีการเสริมสร้าง IQ EQ ให้กับลูกตั้งแต่เด็กยังอยู่ในครรภ์
วิธีการเสริมสร้าง IQ EQ ให้กับลูกตั้งแต่เด็กยังอยู่ในครรภ์ พ่อแม่ควรเสริมสร้าง IQ EQ ให้กับเด็ก ตั้งแต่เด็กยังอยู่ในครรภ์ โดยเริ่มจากแม่ควรได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนโดยเฉพาะธาตุเหล็ก ไอโอดีน โปรตีน โฟลิคและวิตามิน สำหรับการเสริมสร้าง EQ ทำได้โดยพ่อแม่อ่านหนังสือและร้องเพลงหรือพูดคุยกับลูกบ้าง ไม่ทำลายเนื้อสมองของลูกด้วยสิ่งที่เป็นพิษ งดดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เครียด ***หากแม่มีอารมณ์เครียด จะส่งผลให้เด็กขี้โมโห เลี้ยงยาก แต่ในขณะเดียวกันหากคุณแม่อารมณ์ดีๆ จะทำให้เด็กเลี้ยงง่ายและร่าเริงแจ่มใส ***
การเสริมแรงทางบวกนำมาใช้ในการเลี้ยงดูลูกได้อย่างไร
การเสริมแรงทางบวกนำมาใช้ในการเลี้ยงดูลูกได้อย่างไร พ่อแม่หลายท่านอาจจะคิดไม่ถึงว่าเพียงแรงเสริมเล็กๆน้อยๆนั้นก็เป็นตัวพลักดันให้ลูกของท่านทำสิ่งต่างๆได้ และทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ว่าเมื่อทำในสิ่งนั้นแล้วจะเป็นผลดีต่อตนเองและคนรอบข้าง การแรงเสริมทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง แรงเสริมชนิดใดชนิดหนึ่ง เมื่อพ่อแม่ได้นำเข้ามาในสถานการณ์นั้นแล้วจะมีผลให้เด็กเกิดความพึงพอใจ แรงเสริมจึงมีหลายรูปแบบ คือ สิ่งของ คำชม ขนม เป็นต้น สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้ เช่น เมื่อลูกช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน พ่อแม่ควรให้คำชมกับลูก คือ”หนูเก่งมากเลยค่ะ” “หนูเป็นเด็กดีมากเลยช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน” หรืออาจจะให้ในรูปแบบของรางวัล เช่น ของเล่น อาหารหรือขนมที่ลูกชอบก็ได้พร้อมกับบอกเหตุผลว่าทำไมลูกถึงได้สิ่งของเหล่านี้ เมื่อพ่อแม่ได้อธิบายให้ลูกฟังแล้ว ลูกจะเกิดความภาคภูมิใจในตนเองและกล้าที่จะทำในสิ่งนั้นต่อไป สำหรับการให้เสริมแรงนั้นพ่อแม่ควรให้อย่างสม่ำเสมอในตอนแรก เมื่อพฤติกรรมของลูกเริ่มคงที่แล้ว ควรลดการเสริมแรงลงและให้แรงเสริมเป็นครั้งคราวเท่านั้น