หยุดห้าม!! แล้วเปลี่ยนมาสอนแทน
พ่อแม่ควรทำ ก็เพราะ….. 1.เด็กอยากเรียนรู้ “ทำให้ดีขึ้น” มากกว่าโดนห้ามทำ 2.เด็กไม่รู้สึกแย่ต่อตนเอง ไม่ทำลายความรู้สึกภาคภูมิใจเด็ก 3.แก้ปัญหาเด็กขาดความมั่นใจ เพราะโดนห้ามบ่อย 4.ไม่เสียความสัมพันธ์กับพ่อแม่ 5.ลดปัญหาเด็กต่อต้าน เพราะพ่อแม่ไม่จ้องห้าม 6.สมองพัฒนาดีขึ้น เพราะได้เรียนรู้มากขึ้น 7.ใยสมองไม่ถูกตัด เพราะไม่โดนห้าม 8.คำห้ามจะศักดิ์สิทธิ เพราะถูกใช้เมื่ออันตรายเท่านั้น ………………………. ยิ่งห้าม ยิ่งทำลายใยสมองและตัวตน สอนให้เป็น พัฒนาทั้งสมอง ตัวตน ความมั่นใจ หยุดห้ามแล้วเปลี่ยนมา “สอนทำ/ชวนทำ” Cr. Facebook Page หมอเสาวภาเลี้ยงลูกเชิงบวก
รู้จักจุดเด่นของลูก…จึงจะพัฒนาศักยภาพได้ถูกทาง
เคยเห็นคนเก่งมากๆในโลกนี้ แล้วคิดว่าทำไมเขาทำบางสิ่งที่ทำให้ประสบความสำเร็จได้ดีมากๆ ไหมคะสิ่งหนึ่งที่ทุกคนมี แต่คนที่ประสบความสำเร็จทำได้ดีกว่า นั่นคือ “จุดเด่นหรือจุดแข็ง (strengths)” หลายคนที่ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่ไม่มีจุดด้อย บางคนมีมากด้วยซ้ำ แต่ทำไมจึงประสบความสำเร็จได้ลองคิดถึงกรณีของคนพิการหลายคนในโลกนี้ บางคนไม่มีแขน อวัยวะไม่ครบ แต่วาดรูปได้สวยมาก บางคนตาบอด แต่เล่นดนตรีคลาสสิคด้วยพรสวรรค์อย่างน่าทึ่ง นั่นเพราะเค้าได้รับการสนับสนุนและรู้จักจับจุดเด่นมาพัฒนาตัวเองให้ดียิ่งๆขึ้นไป แทนที่จะมัวจมอยู่กับสิ่งที่ไม่น่าภาคภูมิใจของตัวเอง เด็กทุกคนที่เกิดมาบนโลกนี้ มีทั้งจุดเด่น (strengths) และจุดด้อย(weaknesses) แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า หลายคนไม่ได้รับการส่งเสริมที่ถูกทาง พ่อแม่หลายคนมุ่งแต่การแก้ไขปัญหาและพฤติกรรมจากความคาดหวังของตัวพ่อแม่เอง จนมองหาจุดเด่นของลูกไม่เจอ เราเห็นปัญหาก่อนสิ่งดีๆเสมอ แทนที่เราจะชื่นชมสิ่งดีๆที่ลูกมี เรากลับไปตำหนิและพยายามชี้ให้ลูกเห็นถึงข้อเสียตลอด โดยหวังว่าลูกจะ “ปรับตัว” คนทุกคนจะรักและอยากพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น ไม่ได้มาจากการถูกตำหนิ แต่มาจากการชื่นชมให้เป็น ของพ่อแม่ และคนรอบข้าง “ลูกรู้ไหมว่าความพยายามของลูกทำให้แม่ชื่นใจมากๆ พยายามต่อไปนะลูก” “วันนี้หนูอดทนได้ดีมาก พ่อเห็นลูกเหนื่อยแต่ก็พยายามฝึกตามที่โค้ชบอก” “ครูชอบมากๆที่เห็นหนูตั้งใจทำ ครูเชื่อว่าไม่นาน หนูก็จะทำได้ดีขึ้น” ทั้งๆที่ลูกยังทำไม่ได้ แต่ได้ฟังแบบนี้ ก็รู้สึกดี อย่างน้อย พ่อแม่ (หรือคุณครู) ก็เข้าใจ แล้วมุ่งส่งเสริมในสิ่งที่ลูกทำได้ดี หรือสิ่งที่ลูกรักและชอบ เพื่อสร้างความนับถือในตัวเอง (self-esteem) ที่จะนำไปสู่ความมั่นใจและภาคภูมิใจในตัวเอง […]
ถ้าเดินชนโต๊ะ โต๊ะไม่ใช่คนร้าย เพราะโต๊ะก็คือโต๊ะ
ที่ร้านกาเเฟแห่งหนึ่ง เด็กชายวัยหัดเดิน พุ่งตัวเข้ามาในร้านอย่างรวดเร็ว และอย่างที่คาดไว้ เด็กชายถลาไปชนโต๊ะกาแฟตัวหนึ่งในร้าน เสียงร้องไห้ของเด็กน้อยทำเอาคุณปู่คุณย่าที่เดินตามหลานเข้ามารีบเข้าไปปลอบประโลมหลานชายของตน “โอ๋ๆ ไม่ร้องนะ ไหนเจ็บตรงไหน ใครทำ?” ฝ่ายคุณย่าพูดขึ้น “เดี๋ยวปู่ตีโต๊ะให้ โต๊ะมันทำ…ล้มใช่มั้ย นี่แหน่ะ!” ฝ่ายคุณปู่พูดขึ้น พร้อมกับยกมือตีไปที่โต๊ะที่เด็กชายเดินชน ในเหตุการณ์นี้ “โต๊ะไม่ใช่คนร้าย” เพราะโต๊ะก็คือโต๊ะ และ “ไม่มีใครผิด” อีกเช่นกัน เพราะเป็นอุบัติเหตุแต่สิ่งที่ผู้ใหญ่กำลังสอนเด็ก คือ “การหาคนผิดคือสิ่งสำคัญ และการโทษคนอื่นก่อนจะมองกลับมาที่ตัวเอง” ผลเสีย คือ เด็กจะไม่สามารถรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองได้ เด็กจะไม่ได้เรียนรู้ว่า “สิ่งที่ตนทำ ตนต้องรับผิดชอบผลลัพธ์ของการกระทำที่เกิดขึ้น” สิ่งที่จะบ่งบอกว่าเด็กคนนี้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี ไม่ใช่อายุที่มากขึ้น แต่เป็นความสามารถในการรับผิดชอบต่อตนเอง และสังคมได้มากขึ้นต่างหาก ดังนั้น เวลาเด็กล้ม (เพราะอุบัติเหตุ) ผู้ใหญ่เข้าไปปลอบได้ แต่วิธีการปลอบไม่ใช่ “การหาคนหรือสิ่งผิด” แล้วทำโทษสิ่งนั้นให้เด็กดู เช่น เด็กชนโต๊ะแล้วล้มลง ผู้ใหญ่ไม่ควรปลอบเด็กด้วยการไปตีโต๊ะ สิ่งที่ผู้ใหญ่ควรทำคือ… 1. อย่าแสดงสีหน้าหรือท่าทางที่ตกใจจนเกินเหตุ เพราะบ่อยครั้งเด็กไม่ได้เจ็บมากมาย แต่เขาตกใจเพราะสีหน้าท่าทางของเรามากกว่า 2. ดูว่าเด็กบาดเจ็บมากไหม ถ้าไม่มาก เราช่วยเขาลุกขึ้น […]
การสื่อสารกับลูกอย่างมีประสิทธิภาพด้วย I message
I message ถูกจัดให้เป็นวิธีการสื่อสารที่ทรงประสิทธิภาพรูปแบบหนึ่ง เป็นการสื่อสารที่ทำให้คนฟังสามารถ “รับฟัง” และลดการ “ต่อต้าน” ด้วยอารมณ์ได้เป็นอย่างดี หลักการคร่าวๆ คือ การสื่อสารที่พูดถึง “ความคิดและความรู้สึก” ของ “ตัวผู้พูดเอง” ต่อ “พฤติกรรม” ของคนฟัง โดยหลีกเลี่ยงการตำหนิ การหาคนผิด เพื่อลดการใช้อารมณ์และการปกป้องตนเอง ที่มักทำให้สิ่งที่ต้องการสื่อ เข้าไปได้ไม่ถึงใจ ลองดูประโยคเหล่านี้… “ขี้เกียจจริงๆเลย เล่นแล้วก็ไม่เก็บ” กับ”แม่อยากให้หนูเก็บของเล่นให้เรียบร้อยด้วยจ้ะ” “นิสัยเสีย พูดจาแบบนี้กับพ่อแม่ได้ยังไง” กับ”แม่เสียใจเวลาที่ได้ยินคำพูดที่ไม่ดี แม่อยากให้เราระวังคำพูดกันจะได้ไม่ทำให้ใครต้องรู้สึกไม่ดี” “ถ้าพูดจาแย่ๆแบบนี้อีกที แม่จะไม่คุยด้วยละนะ” กับ”แม่เสียใจเวลาได้ยินคำพูดที่ไม่ดี แม่อยากจะคุยกับคนที่พูดจากันดีๆ มากกว่า” “ทำไมป่านนี้ยังไม่อาบน้ำอีก” กับ”แม่อยากให้ลูกไปอาบน้ำได้แล้ว เราจะได้รีบไปธุระกัน” “ทำไมโทรไปไม่รับ” กับ”พ่อติดต่อลูกไม่ได้เลย””ทำไมกลับบ้านดึกดื่นไม่รู้จักโทรบอก” กับ”แม่เป็นห่วง ที่ดึกแล้วลูกยังไม่กลับ น่าจะดีถ้าครั้งหน้าลูกจะโทรบอกแม่หน่อย แม่จะได้ไม่ต้องเป็นห่วง” จะเห็นว่าประโยคทั้งสองมีจุดมุ่งหมายคล้ายกัน แต่เห็นด้วยมั้ย ว่าฟังแล้ว “รู้สึกแตกต่างกัน” ประโยคแบบนี้นี่แหละที่จะทำให้ลูก “ฟัง” เราด้วย “อารมณ์” ที่แตกต่างและเมื่ออารมณ์ไม่แย่ ไม่ต้องวุ่นวายกับการปกป้องตนเองตามสัญชาติญาณ การ […]
ค้นหาความฉลาดของลูกด้วยทฤษฎี พหุปัญญา 8 ด้าน
ศาสตราจารย์ ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ผู้เสนอทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) โดยในปี ค.ศ. 1983 เขาได้เขียนหนังสือชื่อ Frames of Mind เพื่อเผยแพร่เรื่องราวของ ทฤษฎีพหุปัญญา ดร.การ์ดเนอร์กล่าวว่ามนุษย์ทุกคนย่อมมีศักยภาพในตัวเองต่างๆกันไป แต่จะมีศักยภาพบางด้านที่สามารถพัฒนาให้โดดเด่นได้มากกว่าด้านอื่น ซึ่งจะจำเพาะกับคนๆนั้น เขาไม่เชื่อว่าการวัดอัจฉริยภาพด้วยการทดสอบ IQ (IQ test) นั้นสามารถใช้เป็นเครื่องมือวัดที่แน่นอนได้ แต่เชื่อว่าอัจฉริยภาพสามารถสร้างได้ในตัวบุคคลด้วยวิธีการเรียนรู้แบบเฉพาะตัวเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านนั้นๆ ในขณะที่โรงเรียนและวัฒนธรรมของสังคมมักชื่นชมและยอมรับคนที่เก่งด้านภาษาและตรรกะคณิตศาสตร์มากที่สุด แต่แท้จริงแล้วเราควรให้ความสนใจกับบุคคลที่แสดงอัจฉริยะภาพในปัญญาด้านอื่นด้วย อาทิ ด้านศิลปะ ดนตรีและกีฬา ซึ่งน่าเสียดายที่เด็กหลายคนมีพรสวรรค์เหล่านี้แต่ไม่ได้รับการส่งเสริมเมื่อพวกเขาอยู่ในโรงเรียน ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) 8 ด้าน ทฤษฎีพหุปัญญาของ ดร. การ์ดเนอร์ ชี้ให้เห็นถึงความหลากหลายทางปัญญาของมนุษย์ โดยคนเราอาจเก่งเพียงด้านเดียวหรือเก่งได้หลากหลายด้าน ในขณะที่คนอีกคนหนึ่งอาจไม่เก่งเลยสักด้านแต่เขาสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขซึ่งแท้จริงแล้วไม่มีใครที่เก่งทุกด้านเท่ากันหมดหรือไม่เก่งเลยซักด้านเดียว
พลังของการเล่น
การเล่นของเด็กมีความสำคัญต่อพัฒนาการของ executive function(EF) และความสำเร็จของชีวิตในอนาคต โดย executive function(EF) คือความสามารถระดับสูงของสมองที่ใช้ในการควบคุมความคิด อารมณ์ และการกระทำเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย ในการเร่งเรียนหรือใช้เวลาต่อวันในการเรียนหนังสืออย่างจริงจังมากเกินไปในช่วงปฐมวัยคือ 3- 6 ขวบนั้น มีข้อเสียที่สำคัญ คือ เสียเวลาเล่น และเมื่อประเมินแล้วพบว่าผลลัพธ์ที่ได้ไม่คุ้มค่า ความเก่งด้านคณิตศาสตร์ที่ชั้นอนุบาลมิได้บ่งชี้ความเก่งที่ชั้นประถมแต่อย่างใด (อ้างอิงถึง Watts TW, Duncan GJ, Clements DH, Sarama J. What is the long-run impact of learning mathematics during preschool? Child Dev. 2018;89(2):539–555) การเล่นคืออะไร การเล่นคือกิจกรรมที่เกิดจากภายใน (intrinsic) เกิดขึ้นเอง (spontaneous) มีส่วนร่วม (engage) และมีความสนุก (joyful) ซึ่งสองคำแรกมีความหมายว่าเราบังคับให้เด็กเล่นก็ไม่ได้ถ้าเจ้าตัวไม่อยากจะเล่น เพราะการเล่นที่แท้ต้องเกิดขึ้นจากภายในจิตใจของตัวเขาเองและผุดบังเกิดขึ้นได้เอง นอกจากนี้ตัวเด็กมีส่วนร่วมกับการเล่น เป็นส่วนหนึ่งของการเล่น มิใช่ถูกบังคับให้ดูคนอื่นเล่น […]
เพราะวัยรุ่น…คือวัยว้าวุ่น คุยกับลูกวัยรุ่นอย่างไรให้เข้าไปถึงใจ
วัยรุ่น เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และสมองส่วนกลางที่ทำงานในเรื่องของอารมณ์พัฒนาเต็มที่ ทำให้หลายครั้งเราจะเห็นท่าทีหรืออารมณ์เด็กวัยรุ่น ค่อนข้างรุนแรง หุนหุนพลันแล่น ยากที่จะควบคุมอารมณ์ได้ แต่นั่นคือพัฒนาการของวัยรุ่นปกติ เป็นสัญญาณที่จะทำให้วัยรุ่นพัฒนาก้าวเข้าไปสู่วัยผู้ใหญ่ในอนาคตได้ดีหากผู้ใหญ่เข้าใจ จะทำอย่างไรให้พ่อแม่ได้พูดคุยกับลูกวัยรุ่นได้อย่างเข้าใจซึ่งกันและกัน สิ่งสำคัญคือท่าทีของพ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องเปลี่ยนแปลงไป จากความเป็นพ่อแม่ไปสู่ความเป็นเพื่อน เพราะวัยรุ่นจะรู้สึกว่าการแสดงออกของพ่อแม่ที่ให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่รักเขาแตกต่างจากช่วงวัยเด็กเล็ก และวัยประถม คือวัยเด็กเล็ก(ฐานกาย) จะรู้สึกว่าพ่อแม่รักเขาก็ต้องมีโอบกอดสัมผัส ส่วนวัยประถม(ฐานใจ)จะต้องใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกันกับลูก ส่วนวัยรุ่นจะต้องให้เวลาในการรับฟังสิ่งที่ลูกพูดลูกคิด (ฐานคิด) อย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง บทบาทของพ่อแม่ คือผู้สอน ผู้พูด แต่จริงๆแล้วไม่ว่ากับลูกวัยไหน บทบาทของพ่อแม่ต้องปรับเปลี่ยนจากผู้พูดมาเป็นผู้ฟังบ้าง โดยเฉพาะกับลูกวัยรุ่นที่ต้องการให้คนเข้าใจและยอมรับฟังความคิด ความรู้สึกของพวกเขาบ้าง ซึ่งไม่แตกต่างจากผู้ใหญ่เวลาเกิดเรื่องไม่สบายใจ ก็ต้องการคนรับฟังเช่นกัน นอกจากสัมพันธภาพที่ดีที่เป็นพื้นฐานในการที่เด็กจะเข้ามาพูดคุยเล่าเรื่องต่างๆให้ฟังแล้ว การฟังให้ถึงความรู้สึกของลูกก็เป็นส่วนสำคัญถ้าพ่อแม่ทำได้ เพราะเหตุใดการฟังให้ถึงความรู้สึก จึงมีความสำคัญ • เพราะทำให้ลูกรู้ว่ามีคนเข้าใจเขา • ช่วยทำให้ลูกคิดว่าลูกกำลังรู้สึกอย่างไร และเพราะอะไรจึงรู้สึกเช่นนั้น ซึ่งเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไปได้ • ลูกรู้สึกว่าเขาสามารถพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกกับพ่อแม่ได้ การฟังให้เข้าถึงความรู้สึกฟังอย่างไร • ฟังอย่างตั้งใจ ให้หยุดสิ่งที่กำลังทำในขณะนั้น โน้มตัวไปข้างหน้า นั่งใกล้ๆลูก มองหน้าลูก เพื่อให้เด็กรู้สึกว่าพ่อแม่ตั้งใจฟังเขาจริงๆ • ได้ยินความรู้สึกของลูก ฟังคำพูดลูก พยายามจับความรู้สึกของลูก ว่า ขณะนี้ลูกกำลังรู้สึกอย่างไร เพราะอะไรลูกจึงรู้สึกเช่นนั้น […]
พื้นที่ปลอดภัยของชีวิตมาจากการเผชิญหน้ากับความผิดพลาด
ผลการวิจัยพบ เด็กและเยาวชนที่ไม่มีประสบการณ์ชีวิตจากการเผชิญกับความผิดพลาดล้มเหลวเลย จะไม่รู้ศักยภาพของตัวเอง ไม่รู้ว่าตัวเองมีพลังในการสร้างการเปลี่ยนแปลง ทำให้กลายเป็นผู้ใหญ่ที่ซึมเศร้า ไม่มีชีวิตชีวาและไม่พอใจกับชีวิต ซึ่งความผิดพลาดล้มเหลวเป็นเชื้อเพลิงเสริมสร้าง Growth Mindset ให้เด็กและเยาวชนมีความพยายามมากขึ้นและกล้าทำสิ่งที่แตกต่างจนพัฒนาตัวเองได้ จากการศึกษาวิจัยในประเทศออสเตรเลีย โดยแมนดี ชีน (Mandie Shean) อาจารย์ประจำโรงเรียนการศึกษา (School of Education) มหาวิทยาลัยอีดิทโควาน (Edith Cowan University) ประเทศออสเตรเลีย เขียนไว้ในบทความเรื่อง ‘To make your child more resilient, you need to let her fail.’ เผยแพร่ในเวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรั่ม (World Economic Forum ) ว่าความพยายามป้องกันไม่ให้ความผิดพลาดล้มเหลวเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน เป็นการตัดโอกาสที่ดีในการเรียนรู้การใช้ชีวิตไปจากพวกเขา เพราะความผิดพลาดล้มเหลวจะหยิบยื่นของขวัญที่หาไม่ได้จากที่ไหน ประสบการณ์จากการเผชิญหน้ากับมันจะนำพาไปสู่ความสำเร็จ เมื่อทำผิดพลาด สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา คือ ความรู้สึกผิดหวังหรืออึดอัดใจ สิ่งที่พ่อแม่ควรทำไม่ใช่การป้องกันไม่ให้ลูกทำผิดพลาด แต่คือ การให้ลูกได้เรียนรู้วิธีจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้น […]
EF คืออะไร ทำไมจึงสำคัญกับลูก
EF ย่อมาจาก Executive Function เกี่ยวข้องกับตัวตนของลูก เป็นความสามารถของสมองและจิตใจที่ใช้ในการควบคุมความคิด อารมณ์ และการกระทำเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย เมื่อลูกคลอดออกมา หลายบ้านภาวนาให้ลูกครบ 32 เป็นเด็กแข็งแรงสมบูรณ์ แต่พอเวลาผ่านไป ความคาดหวังในตัวลูกก็สูงขึ้นเรื่อยๆ จนนำมาซึ่งความตึงเครียดในบ้าน สิ่งที่พ่อแม่ควรคาดหวังที่สุดคือการทำให้ลูกมี EF EF มี 3 องค์ประกอบด้วยกัน 1.ควบคุมตนเอง (Self control) 3 ปีแรกควรเลี้ยงลูกให้ดีและคอยสร้างเซลฟ์เอสตีมให้ลูก ให้เขาได้กินข้าวเอง ช่วยเหลือตัวเองได้ เล่นสนุก ทำงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ สิ่งเหล่านี้จะเสริมเซลฟ์เอสตีมได้ ซึ่งการควบคุมตัวเองประกอบด้วย 1.ตั้งใจ คือ มีความจดจ่อและนานพอที่จะทำงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งให้สำเร็จ โดยเฉพาะงานที่ยาก ท้าทาย 2.ไม่ว่อกแว่ก คือ แม้จะพบสิ่งรบกวน ยั่วยวนใจ ก็ยังสามารถควบคุมตัวเองให้ทำงานต่อไป หรือพบอบายมุขก็จะถอนตัวออกไปได้ 3.ประวิงเวลาที่จะมีความสุข คือ อดเปรี้ยวไว้กินหวาน ลำบากก่อนสบายทีหลัง มีความมานะ อดทน ไม่ย่อท้อที่จะทำงานให้สำเร็จลุล่วง 2.ความจำใช้งาน (Working Memory) ความจำใช้งาน […]
เพราะอะไร…พ่อแม่จึงควรหยุดตะโกนใส่ลูก
คุณหมอ เจ้าของ Facebook Page เข็นเด็กขึ้นภูเขา ได้เขียนอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า ในวันๆหนึ่ง อาจจะมีหลายๆครั้งที่พ่อแม่ตะโกนใส่ลูก ทั้งตอนปลุกให้ตื่นตอนเช้า ตอนรอเวลากินข้าวให้เสร็จ ตอนออกจากบ้านไปเรียน ตอนกลับบ้าน ตอนที่กำลังทำการบ้าน และเหตุการณ์คลาสสิคที่มักจะเกิดขึ้นในเวลาทำการบ้าน ฉากประมาณว่า แม่กำลังสอนการบ้านลูกตอนเย็นหลังกลับจากโรงเรียน ลูกทำไม่ได้ ทำผิดซ้ำซาก แม่ก็หงุดหงิดที่ลูกทำผิด เพราะเคยสอนแล้ว หลายรอบด้วยนะ แต่ทำไมยังผิดอีก พยายามจะใจเย็นแล้ว แต่สุดท้ายแม่ก็โกรธจนต้องตะโกนออกมา “โอ๊ย แม่ไม่ไหวแล้วนะ ทำไมสอนกี่รอบก็ลืม เบื่อจะแย่ ไม่ต้องเรียนมันแล้ว” พอตะโกนเสร็จแล้ว เหตุการณ์ต่อไปมักจะเป็นแบบนี้ เด็กบางคนก็จะตะโกนกลับ และก็กลายเป็นตะโกนใส่กัน สุดท้ายอาจจะมีการลงไม้ลงมือ ผู้ใหญ่ตี แล้วเด็กก็ร้องไห้ หรือว่าเด็กบางคนก็อาจจะเม้มปาก ขมวดคิ้ว กดดินสอหนักๆ จนกระดาษขาด แม่ก็ยิ่งโกรธ แล้วเด็กก็ตะโกนออกมาว่า “ไม่ทำแล้วโว้ย” เดินกระแทกเท้าออกไป จริงอยู่ว่า มีเด็กบางคนที่หลังจากได้ยินแม่ตะโกน จะตั้งใจทำมากขึ้น แต่ถ้าดูสีหน้าเด็ก จะเหมือนเวลาเราเห็นผลไม้เน่าค้างในตู้เย็น ก็คือ หน้าเด็กจะบูดบึ้ง บอกบุญไม่รับ ผลจากการตะโกนส่วนใหญ่ไม่มีใครชอบ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ที่จะตะโกนใส่ลูกก็หงุดหงิดมากขึ้น ไม่ชอบที่ตัวเองตะโกนแบบนั้น […]